ความแตกต่าง ระหว่าง Client-Server กับ Host-Terminal

สถาปัตยกรรมและโครงสร้าง

ลักษณะการทำงานของApplication

ลักษณะงานที่เหมาะสมและบรรณานุกรม


Overview

ยุคนี้เป็นยุคของการใช้คอมพิวเตอร์เป็นกลุ่มช่วยกันทำงาน ซึ่งพัฒนาการคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในฐานะที่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว หรือที่เรียกพีซีกันมาจนติดปาก ค่อย ๆ ปรับจากพีซีด้านการเพิ่มขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ในเชิงคำนวณสูงขึ้น มีการทำงานที่รวดเร็ว ใช้งานง่าย ต่อมาก็มีการเชื่อมโยงเข้าเป็นระบบและต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่าย การเชื่อมกันเป็นเครือข่ายจึงเริ่มจากการนำเอาพีซีมาต่อเป็นเทอร์มินัลของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ให้ทำงานเสมือนเป็นเพียงภาคแสดงผลและแป้นพิมพ์ของระบบหลัก (โฮส) การคำนวณหลักอยู่ที่เครื่องหลัก พัฒนาการขั้นต่อมาของการเชื่อมโยงคือการต่อในระบบแลน หรือเป็นเครือข่ายท้องถิ่น ระบบแลนที่กล่าวถึงเป็นการเริ่มจากการนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องต่อร่วมกันเป็นเครือข่าย ให้เครื่องหนึ่งเป็นเครื่องหลักที่ทำงานจัดสรรการบริการเหมือนกับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม ในระบบเมนเฟรมนั้น การทำงานหลักอยู่ที่คอมพิวเตอร์หลัก เราเรียกคอมพิวเตอร์หลักว่าโฮส พีซีทำหน้าที่เป็นเพียงจอภาพ และการอินพุตผ่านทางแป้นพิมพ์ พีซีที่ต่อในระบบนี้จึงต้องจำลองตัวเองให้เป็นเทอร์มินัลนั้น ๆ เช่น ถ้าต่อกับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับ ASCII เทอร์มินัล ก็มีการจำลองให้เป็นไปตามมาตรฐานเทอร์มินัลนั้น ๆ เช่น แบบ ANSI แบบ VT100 แบบ VT102 เป็นต้นและถ้าต่อกับเครื่องเมนเฟรมของไอบีเอ็ม ก็มีการจำลองระบบให้เป็นแบบ 3270 แบบ 5251 เป็นต้น

พีซีจึงต้องมีโปรแกรมจำลองตัวเอง เช่น PROCOMM, CROSSTALK ฯลฯ โปรแกรมเหล่านี้จะส่งงานและรับติดต่อกับโฮสตามมาตรฐานที่กำหนด สังเกตว่าการคำนวณในหน้าที่อื่นจะไม่เกิดขึ้นบนพีซีเหล่านี้เลย แต่เมื่อพีซีเป็นกลุ่มก้อนต่อกันเป็นเครือข่ายแลน ลักษณะการเชื่อมโยงของเครือข่ายมีความเร็วสูง จึงมีการวางตัวจัดการให้บริการกลางที่เรียกว่าเซอร์ฟเวอร์ และมีเวอร์กสเตชันต่ออยู่ในระบบ หากจะมองระบบ LAN ให้เหมือนมินิเมนเฟรมก็ได้คือ ให้ตัวเซอร์ฟเวอร์ทำงานหลักเหมือนโฮส เพราะเวอร์กสเตชันส่วนใหญ่ทำงานแบบเทอร์มินัล แต่สภาพความเป็นจริง ตัวพีซีแลนมีลักษณะการทำงานได้ดีกว่านั้นมาก กล่าวคือ แบ่งงานชิ้นหนึ่งให้เครื่องทั้งที่เป็นเซอร์ฟเวอร์และเวอร์กสเตชันทำงานร่วมกัน การทำงานร่วมกันนี้ทำให้ทั้งระบบมีประสิทธิภาพและเครื่องที่ต่ออยู่บนเครือข่ายก็ไม่ต้องใหญ่โตมากมายเหมือนเครื่อง แนวคิดเดียวกับการดำเนินการในระบบแลนจึงเน้นที่ลดขนาดอุปกรณ์ลง ช่วยกันทำงานเพื่อให้ได้งานผลลัพธ์ดีขึ้น

พัฒนาการที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ของเครือข่ายคอมพิวเตอร

เมื่อพีซีมีราคาถูกลง มีความนิยมสูง ผู้ใช้มีความคุ้นเคยและนิยมชมชอบในการใช้งาน ทำให้ฐานของผู้ใช้กว้างขวางมากขึ้น แนวทางที่จะทำให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้นคือ การสร้างเป็นเครือข่ายแลนหรือสร้างกลุ่มทำงานขึ้น เครือข่ายแลนจึงได้รับการพัฒนาและเป็นที่นิยมใช้งานอย่างกว้างขวาง เมื่อมีการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านแลนทำได้รวดเร็วและส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันได้มาก บริษัทผู้ผลิตแลนจึงมีโปรแกรมจัดระบบงานเพื่อดำเนินงานพื้นฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันให้ได้มาตรฐานมากขึ้น มีการกำหนดมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่าโปรโตคอล และเป็นที่นิยมจนมีผู้นำไปประยุกต์ใช้งานต่อได้มาก ในบรรดามาตรฐานของแลนจึงมีมาตรฐานทั้งรูปแบบการเชื่อมต่อ การใช้สายสัญญาณแบบต่าง ๆ กัน ใช้โปรโตคอลต่างกัน ทั้งหมดก็มีผู้ผลิตจำนวนมากสนับสนุน

การรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบแลนที่เป็นโปรโตคอลหลักและมีผู้นิยมที่สำคัญได้แก่ โปรโตคอล SPX/IPX ซึ่งเป็นโปรโตคอลหลักที่ใช้ในโนเวลเน็ตแวร์ NETBIOS ของไมโครซอฟต์ที่กำหนดการเชื่อมโยงในแลน และมาตรฐานโปรโตคอลที่เน้นการเชื่อมโยงเครือข่ายต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ TCP/IP เมื่อโปรโตคอลเป็นมาตรฐานจึงมีผู้สร้างระบบการทำงานให้ซีพียูต่าง ๆ ที่อยู่บนแลนต่อเชื่อมกันและทำงานร่วมกัน การทำงานแบบไคล์เอ็นต์เซอร์ฟเวอร์จึงเป็นโมเดลที่มีผู้สนใจที่จะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

รูปแบบไคล์เอ็นต์เซอร์ฟเวอร์จึงเกิดขึ้น

ซีพียูแต่ละตัวที่อยู่ในไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและความรวดเร็วสูงมาก การใช้งานพีซีเป็นเพียงเทอร์มินัลที่ต่ออยู่กับเมนเฟรม จึงดูจะไม่ค่อยได้ใช้ประสิทธิภาพของซีพียูเลย การเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบในแลนจึงเน้นที่ให้ซีพียูทุกตัวช่วยกันทำงาน ซีพียูที่ให้บริการช่วยเหลือก็เรียกว่าเซอร์ฟเวอร์ ซีพียูตัวที่ขอใช้บริการก็เรียกว่าไคล์เอ็นต์ การให้บริการและการขอใช้บริการจะแบ่งแยกเป็นฟังก์ชันต่าง ๆ ตามหน้าที่ โปรแกรมประยุกต์ในปัจจุบันต้องการแสดงผลบนหน้าจอภาพที่เป็นวินโดวส์ แสดงในลักษณะกราฟิก ดังนั้นพีซีของผู้ใช้จึงทำหน้าที่หลักในการจัดการแสดงผล แต่เมื่อต้องการข้อมูลก็จะขอใช้บริการจากไฟล์เซอร์ฟเวอร์ ตัวที่ให้บริการข้อมูลหลักก็เรียกว่าไฟล์เซอร์ฟเวอร์ หากมองมุมกลับถ้าเครื่องที่จัดการฐานข้อมูลมีความสามารถในการดูแลไฟล์และจัดการตัวข้อมูล ตัวนี้จะอยู่ในฟังก์ชันดาต้าเบสเซอร์ฟเวอร์ แต่ดาต้าเบสเซอร์ฟเวอร์ทำงานการแสดงผลไม่ดี ได้แต่ข้อมูลที่ต้องการ ดังนั้นจึงต้องไปรับบริการกับตัวลูกเพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้ ตัวลูกที่ใช้ในการแสดงผลจึงเป็นตัวให้บริการทางด้านการแสดงผล หรือเป็นสถานีปลายทาง เราก็เรียกว่าเทอร์มินัลเซอร์ฟเวอร์ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าการเป็นไคล์เอ็นต์จะไปอยู่ที่ตัวดาต้าเบสเซอร์ฟเวอร์ด้วย ระบบการขอใช้บริการและการให้บริการจึงมีหลากหลาตามฟังก์ชันการใช้งาน

การทำงานในระบบไคล์เอ็นต์เซอร์ฟเวอร์

การทำงานภายใต้ระบบไคล์เอ็นต์ไซอร์ฟเวอร์จึงประกอบด้วย ส่วนสำคัญสามส่วนคือ ส่วนของผู้ใช้บริการหรือที่เรียกว่า ไคล์เอ็นต์ ส่วนเครือข่ายและส่วนของผู้ให้บริการหรือเซอร์ฟเวอร

ด้วยเหตุผลนี้การพัฒนาซอฟต์แวร์สมัยใหม่ในระบบ ไคล์เอ็นต์เซอร์ฟเวอร์จึงต้องคำนึงถึงส่วนทั้งสาม และหากจะพิจารณาให้กว้างออกไป ไคล์เอ็นต์ตัวหนึ่งอาจเรียกใช้บริการจากเซอร์ฟเวอร์หลายแห่งก็ได้ หรือจะเรียกเซอร์ฟเวอร์ที่ทำงานแตกต่างกัน หากในระบบมีเซอร์ฟเวอร์ที่ดูแลดาต้าเบสหลายตัว ระบบนั้นก็จะเป็นระบบจัดการข้อมูลแบบกระจาย ดังนั้นระบบฐานข้อมูลแบบกระจายจึงเป็นระบบที่ต้องทำงานโดยอาศัยการทำงานตามโมเดล ไคล์เอ็นต์เซอร์ฟเวอร์ ในระบบเดียวมีการเรียกหลายฟังก์ชัน เช่น ตัวให้บริการการจัดพิมพ์ข้อมูลโดย ไคล์เอ็นต์หลายตัวมาขอใช้บริการได้ เราก็เรียกว่าพรินเตอร์เซอร์ฟเวอร์ตัวให้บริการเทอร์มินัล ทำให้ต้องใช้เทอร์มินัลได้มากก็เรียกว่า เทอร์มินัลเซอร์ฟเวอร์ อนาคตของไคล์เอ็นต์เซอร์ฟเวอร์จึงมาแรง จากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่มีราคาถูกมาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายและให้ทำงานเหมือนเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ อีกทั้งทำงานได้ดีกว่าและมากกว่าเพราะให้ซีพียูหลายตัวช่วยกันทำงาน

ระบบไคล์เอ็นต์เซอร์ฟเวอร์จึงเป็นที่ยอมรับ

อย่างไรก็ดีระบบไคล์เอ็นต์เซอร์ฟเวอร์ก็เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลายอย่าง ตั้งแต่เรื่องเครือข่าย เรื่องซอฟต์แวร์ที่มีการเชื่อมโยงการทำงานแบบเครือข่าย ดังนั้นระบบไคล์เอ็นต์เซอร์ฟเวอร์จึงเป็นระบบงานที่ซับซ้อนกว่า แต่โชคดีที่มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ไปมากแล้ว ทำให้มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยในการพัฒนาซอฟต์แวร์มากตามด้วย


นายพิชิต ชื่นสมศรี รหัส 42-4055-015-4 CSs3-R