ลักษณะการทำงานของApplication


รูปแบบการทำงานของ Host-Terminal

ใช้เครื่องในระดับ mainframe และมินิคอมพิวเตอร์จะทำการคำนวณจากส่วนกลาง (Central Processing) เป็นหลัก แอพพลิเคชั่นต่างๆ
ที่จะเรียกใช้ข้อมูลก็ต้องขอจากจากฐานข้อมูลส่วนกลางคือ เครื่องเมนเฟรม ตามปกติแล้วเครื่องเมนเฟรมจะทำงานแบบไทม์แชริ่ง(Time sharing)
คือ แบ่งเวลาในการทำงานของซีพียูให้สามารถทำงานต่างๆได้หลายงานรูปแบบ การทำงานของเมนเฟรมมีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ

-Host Base Processing
-Master Slave Processing

-Host Base Processing
ระบบนี้เป็นต้นแบบการทำงานของเครื่องเมนเฟรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นระบบ Legacy System ซึ่งมีความ เก่าแก่เป็น 10 ปี
การทำงาน การคำนวณทุกอย่างจะอยู่ที่โฮสต์หรือเมนเฟรม ส่วนเครื่องลูกคือดั๊มเทอร์มินัล (Dump Terminal) มีหน้าที่เพียงรับ-ส่ง
ข้อมูลจากโฮสต์เท่านั้น ไม่สามารถจะจัดการแอพพลิเคชั่นหรือคำนวณค่าต่างๆได้ ฉนั้นโปรเซสการทำงานจะไปตกอยู่ที่โฮสต์เท่านั้น

-Master Slave Processing
การทำงานจะคล้าย ๆ กับระบบ Host Based Processing แต่มีเครื่องมินิซึ่งเป็น slave ทำหน้าที่รับข้อมูลบางส่วนจากโฮสต์ ตลอดจนช่วยในการคำนวณ ทำให้โฮสต์มีเวลาในการทำงาน การคำนวณมากขึ้น โฮสต์หรือเมนเฟรมมีหน้าที่ควบคุมเครื่องมินิและเครื่องมินิจะไปควบคุมดั๊มเทอร์มินัล
เวิร์กสเตชั่นอีกทีหนึ่ง ซึ่งดั๊มเทอร์มินัลก็ทำได้เพียงแต่แสดงข้อมูลเท่านั้น

การทำงานของApplication ของ Client-Server

เทคโนโลยีไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์ทำให้มีการแบ่งงานกันทำระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชั่น แอพพลิเคชั่นหรือโปรแกรมประยุกต์ในระบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์ก็จะทำงานในลักษณะการประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Processing) เช่นกัน แอพพลิเคชั่นจะมีส่วนประกอบในการทำงานอยู่ 6 ส่วนด้วยกันคือ

1. Presentation Services (ส่วนบริการแสดงผล)
เป็นส่วนในการนำเสนอ-แสดงผลข้อมูลที่รับมาจากผู้ใช้ทางคีย์บอร์ดแล้วแสดงผลออกมาทางจอภาพแบบตัวอักษร (Text mode) หรือรับคำสั่ง
ผ่านเมาส์บน GUI เพื่อเสนอในแบบกราฟฟิกส์

2. Presentation Logic (ส่วนแสดงผลแบบตรรก)
เป็นส่วนดูแลในการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับแอพพลิเคชั่น การรับอินพุตจากคีย์บอร์ด การคลิ๊กปุ่มบนเมาส์ การเลื่อนเคอร์เซอร์ขึ้น-ลง การเลือกเมนูคำสั่ง ฯลฯ

3. Applicatio Logic (ส่วนจัดการแอพพลิเคชั่นแบบตรรก)
เป็นส่วนในการจัดการโปรเซสการทำงานของแอพพลิเคชั่นแบบตรรก การกำหนดวงรอบในการทำงาน-การคำนวณ ฯลฯ ดังนั้นภาษาที่ใช้จะต้องเป็นโพซีเดอรัล (Procedural Language) ซึ่งสามารถทำงานแบบอัลกอริธึม (Algorithm) ในการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เช่น if...then...else การตรวจความถูกต้องของข้อมูล ฯลฯ เช่น ภาษา COBOL, PASCAL, C

4. Data Logic (ส่วนจัดการข้อมูลแบบตรรก)
เป็นส่วนจัดการข้อมูลต่างๆ ทั้งการค้นหา (Search) ปรับปรุง (Update) เพิ่มเติม (Insert) การลบ (Delete) ระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (RDBMS) จะใช้ภาษา SQL
ในการจัดการกับข้อมูลเหล่านี้ด้วยคำสั่งที่เข้าใจง่ายและเป็นธรรมชาติ

5. Data Services (ส่วนบริการข้อมูล)
เป็นส่วนบริการข้อมูลโดยมี DBMS (Database Management System) เป็นตัวจัดการค้นหา จัดระเบียบข้อมูล ฯลฯ บนระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะมีลักษณะเป็นตาราง (Table) ทำให้ผู้ใช้มีความสะดวกและง่ายในการใช้งาน

6. File Services (ส่วนบริการไฟล์ข้อมูล)
เป็นส่วนในการบริหารและจัดการไฟล์ข้อมูลในระดับกายภาพ ส่วนนี้จะอยู่ใกล้กับฐานข้อมูลมากที่สุด


<<--กลับหน้าแรก

นายพิชิต ชื่นสมศรี รหัส 42-4055-015-4 CSs3-R