สถาปัตยกรรมและโครงสร้าง


การพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง มีขีดความสามารถเชิงคำนวณสูงขึ้น ขนาดของหน่วยความจำเพิ่มจากเดิมมากประจวบกับพัฒนาการทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าจนถึงขึ้นการเชื่อมทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันได้อย่างมีระบบ ผลของการเปลี่ยนแปลงแทคโนโลยีทำให้เกิดรูปแบบการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากร่วมกันทำงานด้วยฟังก์ชั่นต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของระบบเพื่อให้ขีดความสามารถของทั้งระบบสูงขึ้น ในขณะที่ต้นทุนการลงทุนต่ำลง และสามารถขยายระบบได้ตามความเหมาะสมขององค์กร ระบบเชิงการคำนวณของคอมพิวเตอร์มากกว่าหนึ่งเครื่องขึ้นไปผ่านทางเครือข่ายที่นิยมมากรูปแบบหนึ่งคือ รูปแบบไคลแอนต์-เซิร์ฟเวอร์

หน้าที่หลักของเซิร์ฟเวอร์คือ การให้บริการเช่น ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ ทำหน้าที่ให้บริการการใช้ไฟล์ ใช้ข้อมูล หากจัดการข้อมูลเป็นฐานข้อมูลและให้บริการการเรียกใช้ผ่านคำสั่งจัดการฐานข้อมูลมาตรฐาน เช่น SQL ก็เรียกว่า ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ให้บริการด้านการสื่อสารที่จะต่อเชื่อมกับอุปกร์อื่นก็เรียกว่า คอมมูนิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์ ให้บริการด้านการพิมพ์เอกสาร เป็นที่พักของข้อมูลก่อนการบริการการพิมพ์ก็เรียกว่า พรินเตอร์เซิร์ฟเวอร์ คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ขอใช้บริการเรียกว่า ไคลแอนต์ เช่น
พีซีที่ต่ออยู่บนเครือข่าย ขอเรียกใช้ฐานข้อมูล เราเรียกพีซีนี้ว่า ดาต้าเบสไคลแอนต์ ในขณะที่พีซีมีการเชื่อมต่อกับผู้ใช้เพื่อให้แสดงผลแบบ
วินโดว์เป็นกราฟิคได้ พีซีทำหน้าที่แสดงผลและให้บริการการแสดงผล เราเรียกพีซีนี้ว่าเป็น เทอร์มินัลเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นอุปกรณ์หนึ่งอาจเป็นได้ทั้งไคลแอนต์และเซิร์ฟเวอร์ตามฟังก์ชันการทำงานและจะทำงานร่วมกันโดยส่งผ่านข้อมูลและการเชื่อมโยงทาง
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ รูปแบบของไคลแอนต์เซิร์ฟเวอร์
จึงเป็นรูปแบบที่ใช้ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์จำนวนมากตั้งแต่พีซีจนถึงเมนเฟรมทำงานร่วมกันเป็นระบบ
รูปแบบการทำงานแบบไคลแอนต์-เซิร์ฟเวอร์ จึงเป็นรูปแบบของการจัดระบบให้เหมาะสมกับองค์กรทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และการทำงานร่วมกัน ระบบนี้จึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในขณะนี้

โครงสร้างพื้นฐานของ Client-Server

จากการพัฒนาของระบบปฏิบัติการเต็ตเวิร์กทั้งทางค่ายไมโครซอฟต์ คือ Windows NT Sever และโนเวลคือ Netware ทำให้การทำงานบนระบบเน็ตเวิร์กเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและกว้างขวางขึ้น โดยเฉพาะโปรโตคอลแบบ Ethernet ที่นิยมใช้ในปัจจุบันซึ่งเหมาะกับระบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์ อีกทั้งระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปที่รันอยู่บนเครื่องไคลเอ็นต์ก็มีความสามารถทางเน็ตเวิร์ก และการทำงานแบบมัลติเทรด Windows NT Server เป็นระบบปฏิบัติการ 32 บิต ที่ทำงานแบบพรีเอมพ์ทีพมัลติทาสก์กิ้ง (Preemptive Multitasking) และมัลติเทรดดิ้ง (Multithreading) ซึ่งจะแยกงานของแอพพลิเคชั่นแต่ละตัวออกจากกันทำให้ไม่มีการรบกวนการทำงานระหว่างกัน
เพราะโมเดลในการออกแบบ Windows NT Server ก็เป็นสถาปัตยกรรมไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์อยู่แล้ว โครงสร้างพื้นฐานของ
ไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร ์ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

Client
เป็นส่วนที่จะรันแอพพลิเคชั่นบนไคลเอ็นต์ โดยใช้ระบบ GUI (Graphical User Interface) หรือ OOUI (Object Oriented User Interface) หรือ
DSM (Distributed System Management) เป็นการติดต่อกับ User ผ่านระบบกราฟฟิกส์

Middleware
เป็นส่วนที่ทำงานอยู่ระหว่างไคลเอ็ตน์และเซิร์ฟเวอร์เป็นเสมือนสะพานเชื่อมการทำงาน สามารถแบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ
Service Specific, DSM, NOS และ Transport stack

Server
เป็นส่วนที่จะรันแอพพลิเคชั่นในการจัดการทรัพยารต่าง ๆ สำหรับระบบไคลเอ็นต์/เซิรฟเวอร์ สามารถแบ่งออกได้ 4 แบบด้วยกันคือ
-ระบบฐานข้อมูล SQL (DBMS)
-ระบบจัดการทรานส์แอคชั่น (TP monitor)
-ระบบกรุ๊ปแวร์ (Groupware)
-ระบบอ๊อบเจ็กต์แบบกระจาย (Distributed objects)

สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมของ Client-Server นั้นมีมากมายจะขอยกตัวอย่างดังนี้

-สถาปัตยกรรม CORBA
-สถาปัตยกรรม DCOM
-สถาปัตยกรรม SQL Database Server
-สถาปัตยกรรมแบบกระจาย (Distributed Architectures)
-สถาปัตยกรรม N-Tier


<<--กลับหน้าแรก

นายพิชิต ชื่นสมศรี รหัส 42-4055-015-4 CSs3-R