Assignment 2
July 12, 2001
นายพิชิต ชื่นสมศรี 42-4055-015-4 CSs3-R


1. Mainframe Architecture ได้รับการพัฒนาให้เข้ากันได้กับ Client/Server Architecture ถามว่าทำอย่างไร

- ทำได้โดยการปรับเปลี่ยน Mainframe ซึ่งประมวลผลแบบ centralize ให้กลายเป็น server ในรูปแบบของ Distributed Client/Server Architecture
หรือการประมวลผลแบบกระจายนั่นเอง


2. เพราะเหตุใด Client/Server Architecture จึงเข้ามาแทนที่ File Sharing Architecture

- เพราะ File Sharing มีขีดจำกัดในการประมวลผลอันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้งานในเครือข่ายนั้นๆ File Sharing จะประมวลผลได้อย่างเป็น
ปกติถ้ามีผู้ใช้งานพร้อมกันในเครือข่ายไม่เกิน 12 คน และ Graphical User Interface (GUIs) มีท่าทีที่มาแรงกว่า ทำให้การแสดงผลของ Mainframe และ
Terminal ซึ่งเป็นแบบ Text ดูล้าสมัย ดังนั้น File Sharing Architecture จึงถูกแทนที่ด้วย Client/Server Architecture ในที่สุด

3. ใน Client/Server Architecture สิ่งที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันระหว่าง Clien กับ Server เช่นอะไร

- ใน Client/Server Architecture นั้นจะใช้ Remote Procedure Calls (RPCs) หรือ คำสั่ง Standard query language (SQL) เป็นหลักในการ
ติดต่อสื่อสารกันระหว่าง Client กับ server


4. ยกตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา Application สำหรับ 2-tier Client/Server Architecture

- developer2000 , Delphi , Visual Basic ฯลฯ ใช้ในการพัฒนาApplication ทางฝั่ง Client
- Oracle , FoxPro , PowerBuilder
ฯลฯ ใช้ในการพัฒนา ทางฝั่ง Server


5. ปัญหาสำคัญของ 2-Tire Client/Server Architecture ที่ทำให้ต้องพัฒนาไปเป็น 3-tier Client/Server
Architecture คืออะไร

- 5.1 2-tier Client/Server Architcture จะทำงานได้ในระดับที่มีผู้ใช้งานพร้อมกันไม่เกิน 100 คน ถ้าหากมีผู้ใช้เกิน 100 จะทำให้ประสิทธภาพ
ในการทำงานของเครื่องลดลง ข้อจำกัดนี้จะทำให้เกิดการรักษาสภาพการติดต่อของ Server ผ่านข้อความไปสู่ในแต่ละ client ว่า "keep-alive"
ในขณะที่รอและงานของ client นั้นยังไม่ถูกประมวลผล

- 5.2 ข้อจำกัดในด้านการพัฒนา ซึ่งเกิดจากกฎระเบียบข้อตกลง ของVendor เจ้าของลิขสิทธิ์ Sotware จำกัด ความยืดหยุ่นและทางเลือกของ
DBMS แอพพลิเคชั่น

-5.3 มีข้อจำกัดในด้านความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงส่วนหรือย้ายส่วนใดส่วนหนึ่งของ Program จาก Server หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ต้องตามไป
ทำการแก้ไขApplication ในทุกๆ Client หรือ ต้องทำการแปลง procedural code ให้ตรงกัน


6. ใน 3-Tier Client/Server Architecture สิ่งที่เพิ่มเติมจาก 2-Tier Client/Server Achitecture คือสิ่งใด?
และสิ่งนั้นทำหน้าที่อะไร?

- ใน 3-Tier Client/Server Architecture สิ่งที่ถูกเพิ่มเข้าไประหว่าง ฝั่ง Client กับ ฝั่ง Server คือ Middle Tier มีหลายทางในการใช้งาน
Middle Tier เช่น เป็น Transaction Processing Monitor , เป็น Message servers , หรือเป็น Application Server Middle Tier ทำหน้าที่
ในการจัดคิวการทำงาน , ปฏิบัติการ Application และ จัดการ database

รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบ 2 Tier
รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบ 3 Tier ซึ่งมี Middle Tier เพิ่มขึ้นมา

 


7. ข้อจำกัดของ 3-Tier Client/Server Architecture คืออะไร

- ข้อจำกัดของ 3-Tier Client/Server Architecture คือ Environment ที่ได้พัฒนาขึ้นมานั้นใช้งานยากกว่า การพัฒนาแบบ visually -oriented
ของ 2-tier application และ ยังใช้ภาษาระดับกลางในการแปลงcode เช่น C , Pascal ทำให้ใช้เวลาในการทำงานมากกว่าในบางครั้ง


8. จงเปรียบเทียบ 3-Tier Client/Server Architecture ว่าแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร

-three tier with message server Messaging เป็นวิธีการพัฒนา 3-Tier Architecture อีกวิธีหนึ่งซึ่งการติดต่อกับ Server นั้น ความสำคัญจะอยู่ที่ header ของข้อมูลที่บรรจุ priority infromation , address และรหัสเฉพาะ ความแตกต่างของ message server กับ TP อยู่ที่ การให้ความสำคัญกับ Message ในขณะที่ TP ให้ความสำคัญกับการ Monitor มากกว่า เหมาะ สำหรับการส่งข้อมูลแบบไร้สาย

- Three tier with an application server เป็นสถาปัตยกรรมที่อนุญาตให้ Application สามารถ run บน Share host เพื่อที่จะง่ายต่อการจัดการ เงื่อนไข ของ Application ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับงานทางด้านธุรกิจที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่างๆบ่อย การคำนวณ การค้นคืนข้อมูล ประโยชน์ของ Application Server ก็คือสามารถรักษาความปลอดภัยได้ดี ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการ install

-Three tier with an ORB architecture เป็นการพัฒนา Client/Server Architecture เพื่อให้สามารถรองรับ distributed objects โดยผ่าน ORB (Object Request Broker) ซึ่งจะทำให้สามารถรองรับการพัฒนาในต่างภาษากัน ต่าง platform เพิ่มความสามารถในการ maintainent และสามารถดัดแปลงระบบให้เหมาะสมกับงานได้ง่าย


9. งานที่เหมาะกับ 3-Tier Client/Server Architecture เช่นอะไรบ้าง เพราะอะไร

- งานที่เหมาะกับ 3-Tier Client/Server Architecture ได้งานงานด้าน การธุรกิจ อุตสาหกรรม และการทหาร เพราะ มีความยืนหยุ่นและรองรับการ
เพิ่มเติมของเทคโนโลยีใหม่ๆได้ อีกทั้งยังสามารถพัฒนาApplication ได้โดยที่แต่ละ tier นั้นมี platform ที่ต่างกัน ทำให้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย
ขององค์กรด้วย


10. ขณะนี้เทคโนโลยีของ Client/Server Architecture กำลังมุ่งไปทางใด

- ขณะนี้เทคโนโลยีกำลังมุ่งไปในรูปแบบของ Distributed/Collaborative enterprie architecture ซึ่ง Software Architecture ตัวนี้อยู่บนฐานของ ORB
(Object Request Broker)
และ CORBA ( Common Object Request Broker Architecture) โดยการ ใช้ข้อมูลร่วมกันและมีโมเดลทางธุรกิจที่เป็นมาตรฐาน
ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก และยังพัฒนาให้ใช้ได้กับทุกPlatform อีกด้วย


บรรณานุกรม

- บัณฑิต จามรภูติ การประยุกต์ใช้ระบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์.--กรุงเทพฯ : ว. เพ็ชรสกุล, 2542 120หน้า
- กิตติ สูงสว่าง
NTSoft Trainging Guide สำหรับเรียนรู้ ASP 3.0 Programing เพื่อการพัฒนา Web Application .--กรุงเทพฯ
:เอ็นทีซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น, 2544
- http://web.ku.ac.th/schoolnet

- http://www.sei.cmu.edu/str/descriptions/clientserver_body.html
- http://www.sei.cmu.edu/str/descriptions/threetier.html#34492
- http://www.sei.cmu.edu/str/descriptions/twotier.html#512860

กลับสู่หน้าแรก

นายพิชิต ชื่นสมศรี 42-4055-015-4 CSs 3-R